วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จิตวิทยามนุษย์เชิงธุรกิจ(3000-1609)

*ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจิตวิทยา*

(*อ้างอิงจากหนังสือเรียนวิชา: จิตวิทยามนุษย์เชิงธุรกิจ อาจารย์เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร)

ในปัจจุบันวิชาจิตวิทยาเป็นวิชาที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม มักปรากฏว่ามีคนอีกมากมายที่ยังไม่เข้าใจอย่างถูกต้องว่า จิตวิทยาคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร การศึกษาเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจกระจ่างชัดขึ้น

ความเข้าใจแต่เดิมของคนทั่วไปเกี่ยวกับจิตวิทยานั้น มักจะอาศัยความเชื่อ สามัญสำนึก การคาดเดาเอาเอง และจากโหราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันนี้ ศาสตร์ทางจิตวิทยานับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การศึกษาจิตวิทยาจะช่วยนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการของจิตของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะช่วยให้มนุษย์ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ในอันที่จะนำความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ปรับพฤติกรรมเพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปด้วยดี มีความสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม

ความหมายของจิตวิทยา

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ จิตวิทยาไว้ว่า “วิชาว่าด้วยจิตวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฏการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต”

“จิตวิทยา” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Psychology มีที่มาจากศัพท์ภาษากรีกสองคำรวมกัน คือ คำว่า Psyche รวมกับคำว่า Logos

คำว่า Psyche หมายถึง วิญญาณ (Soul) และคำว่า Logos หมายถึง การศึกษา (Study)

ดังนั้น เมื่อรวมสองคำนี้เข้าด้วยกันจึงหมายถึง การศึกษาเรื่องของวิญญาณ ต่อมาจิตวิทยาได้พัฒนาการจากการศึกษาเรื่องของวิญญาณมาเป็นเรื่องของ “จิต” กลายเป็นการศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ละสัตว์

คำว่า “จิตวิทยา” มีผู้ให้คำนิยามไว้ต่างๆกัน อาทิเช่น

ฮิลการ์ด (Hilgard, 1963) กล่าวว่า จิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์อื่นๆ

มอร์แกน (Morgan, 1971) กล่าวว่า จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์

ไซเดอร์และคณะ (Creder.al 1983) ให้คำนิยามว่า จิตวิทยาเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมและกระบวนการของจิตด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

เฟลดแมน (Fledmzn.R.S.1992) ให้นิยามไว้ว่า เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการของจิต ด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

แมทลิน (Matlin M.W. 1992) ให้นิยามไว้ว่า เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

วิภาพร มาพบสุข (จิตวิทยาทั่วไป) สรุปความหมายของจิตวิทยาในปัจจุบันว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตของมนุษย์และสัตว์ ด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และประสาน หอมพูล ,2542 อธิบายว่า “จิตวิทยา” ในปัจจุบันนี้ คือ “วิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยที่พฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ ไมใช่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเอง เช่น การหุบใบของไมยราพ เมื่อคนเดินเฉียดไปถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของมันเข้า หรือการกระตุกหรือกระเด้งของขาคนเมื่อแพทย์เอาค้อนยางไปเคาะที่หัวเข่าไม่ถือว่าเป็นพฤติกรรมของต้นไมยราพหรือของคนทั้งนี้เพราะ การกระทำของต้นไมยราพหรือหัวเข่าคนจะแสดงการกระทำแบบเดียวกันตลอดเวลา ไม่มีกรเปลี่ยนแปลง มีการคงรูปของการกระทำโดยอัตโนมัติแต่พฤติกรรมทางจิตวิทยานี้ จะต้องเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเช่นจากการเรียนรู้ มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเด็กเล็กๆ ที่ไม่รู้จักวามร้อน เมื่อเอามือไปจับต้องข้าวร้อนๆ จะชักมือกลับอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันจะเกิดการเรียนรู้ว่า ถ้าเอามือไปจับหม้อจะร้อนมือ พฤติกรรมของเด็กจะเปลี่ยนไป คือ จะไม่เอามือไปแตะหม้อข้าวนั้นอีก เช่นนี้ ถือว่าเป็นพฤติกรรมทางจิตวิทยา”

ความสำคัญของจิตวิทยา

ด้วยเนื้อหาสาระของจิตวิทยา เราจะพบว่าจิตวิทยาเป็นวิชาที่สำคัญและน่าสนใจที่จะศึกษามากที่สุดวิชาหนึ่ง เพราะเป็นวิชาที่ค้นหาเกี่ยวกับตัวเรา จิตวิทยาจะทำให้เราได้รับประโยชน์อย่างมากในการเรียนรู้ว่า เพราะอะไรและอย่างไร เราจึงมีพฤติกรรมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเห็น รู้สึกสัมผัส เรียนรู้ ลืม คิด ฝัน ตั้งเป้าหมาย รัก เกลียด ทำงาน เล่น และอื่นๆ อีกมากมาย นักศึกษาจิตวิทยาคนหนึ่งเคยกล่าวว่า “ในบรรดาสาขาวิชาต่างๆ ที่ผมได้เรียนในมหาวิทยาลัยนั้น จิตวิทยาเป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวกับตัวผมอย่างแท้จริง สิ่งใดๆที่ค้นพบได้จากจิตวิทยา สามารถประยุกต์กับตัวผมได้โดยตรง”

จะเห็นได้ว่า จิตวิทยา เกี่ยวข้องกับชีวิตคนเราแทบทุกด้าน และมีผลต่อชีวิตของเราอย่างมากมาย ไม่เพียงแต่จะเกี่ยวกับตัวเราเท่านั้น ยังเกี่ยวกับผู้อื่นที่เราต้องเกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ่งแวดล้อม อื่นๆ ด้วย

กล่าวได้ว่า จิตวิทยาเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของมนุษย์ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายของจิตวิทยาคือกรศึกษาเพื่อจะอธิบาย พยากรณ์ และเปลี่ยนแปลง ปรับแต่งพฤติกรรม เพื่อให้ชีวิตของบุคคลและสังคมดีขึ้น การบรรลุเป้าหมายนี้จะสำเร็จได้ยาก ตราบใดที่เรายังขาดความรู้เกี่ยวกับตัวเราและผู้อื่น ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รอบตัวเราที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบัน จิตวิทยา มีบทบาทที่สำคัญมากในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์ เพราะจิตวิทยาช่วยให้เราเข้าใจตัวเรา เข้าใจผู้อื่น รวมทั้งเข้าใจความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเรารู้และเข้าใจถึงสาเหตุแล้ว จะนำไปสู่การคิดค้นหาวิธีในการแก้ไขปัญหาได้

นอกจากนี้ จิตวิทยายังมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถประเมินและตัดสินพฤติกรรมตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น อันจะมีผลอย่างมากในการปรับตนให้สามารถมีชีวิตร่วมกับผู้อื่น และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตามอัตภาพ (สุธี เผาโภคสภิตย์ และ พิชญ์สิรีโคว์ตระกูล, 2543)

ความเป็นมาของจิตวิทยา

จิตวิทยา เป็นวิชาที่มีมาแต่โบราณซึ่งศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิญญาณ ในแถบโลกด้านตะวันออก ศาสดาสำคัญ เช่น พระพุทธเจ้า เล่าจื๊อ ขงจื๊อ ได้ใช้จิตวิทยาในการสอนศาสนามาก่อน เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ได้รับความสนใจจากนักจิตวิทยามากนัก ชาวตะวันออกเมศึกษาและใช้จิตวิทยาตามแบบปรัชญา ไม่ได้เปลี่ยนรูปไปเป็นวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก

ทางตะวันตก ปราชญ์สนใจจิตวิทยามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณก่อนคริสตกาล คนสมัยนั้นเชื่อว่าจิตวิญญาณในเรื่องลี้ลับ มีอำนาจบงการพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ และมีอำนาจในการควบคุมปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ นักปราชญากรีกที่มีชื่อเสียงเช่น พลาโต (Plato, 4273-347) และ อริสโตเติล (Aristotle, 384-322) ได้ศึกษาธรรมชาติของมนุษย์และพฤติกรรมทางจิตของมนุษย์ พลาโตเชื่อว่า จิตใจเป็นจิตวิญญาณโดยลักษณะธรรมชาติ ขณะที่ร่างกายเป็นวัตถุ ดังนั้น จิตใจและร่างกายเป็นเนื้อหาสาระที่แตกต่างกัน

อริสโตเติล ซึ่งเป็นศิษย์ของพลาโต มีแนวคิดเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจแตกต่างจากพลาโต กล่าวคือ เขาเชื่อในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในตัวคน และคิดว่าธรรมชาติของมนุษย์ประกอบด้วยจิตใจและร่างกาย การจะเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติรวมทั้งตัวมนุษย์นั้น อริสโตเติลบอกว่าจะต้องใช้การสังเกตที่มีระบบและเที่ยงตรง แม้ความคิดของทั้งสองท่านจะขัดแย้งกันและแนวการศึกษาของนักปราชญ์ทั้งสองยังเป็นไปในรูปของปรัชญาก็ตาม แต่แนวคิดของท่านทั้งสองนี้ก็มีอิทธิพลต่อการศึกษาของนักคิดนักวิชาการรุ่นต่อๆมา

จอห์น ล็อค (John Locke,1704) นักปรัชญาชาวอังกฤษ สนใจเรื่องจิตอย่างจริงจังจนได้ฉายาว่า “บิดาแห่งจิตวิทยาแผนใหม่” ท่านว่า “จิต” คือความที่เรารู้สึกตัว (Consciousness) คือรู้ว่า กำลังทำอะไร คิดอะไรอยู่ จิตของมนุษย์แรกเกิดนั้น สะอาดบริสุทธิ์ว่างเปล่าเสมือนผ้าขาวสะอาด สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อจิตเสมือนสีย้อมผ้าที่ทำให้มีสีต่างๆ เมื่อเจริญวัยก็ค่อยสร้างสมจิตที่สมบูรณ์ โดยได้จากการเรียนรู้ การฝึกจิตให้เฉียบแหลมควรฝึกด้วยการคิดคำนวณ จิตของคนเราเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้จากการเรียนรู้ การเรียนรู้ต่างๆ ที่ผ่านไปจะสั่งสมในดวงจิต เชื่อว่าความคิดเห็นและการเรียนที่ผ่านๆ มาแล้วจะสัมพันธ์ต่อโยงอยู่ด้วยกัน แสดงว่า ล็อค เป็นผู้วางรากฐานของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Association)

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ในยุโรป คนหันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น ต้นศตวรรษที่ 17 นักวิทยาศาสตร์หลายท่าน เช่น Keple, Galileo, Newton, Harvey ประสบผลสำเร็จในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ประกอบกับนักวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เช่น Francis, Descartes และ Comte ต่างก็คัดค้านตรรกศาสตร์ตามวิธีอนุมานแบบอริสโตเติลขึ้น ให้มีการพิสูจน์ ทดลองสังเกต พิจารณา หาประจักษ์พยานมาสนับสนุนความคิดความเชื่อ ซึงเป็นวิธีคิดค้นด้วยเหตุผลแบบอุปมาน จึงทำให้จิตวิทยาค่อยมีเหตุผลขึ้น จะเห็นว่าวิญญาณอยู่นอกเหนือการสัมผัสใดๆ มองไม่เห็น พิสูจน์ไมได้ นักจิตวิทยารุ่นต่อๆ มาจึงไม่พยายามที่จะอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในรูปของวิญญาณเป็นผู้สั่งให้กระทำ เปลี่ยนมาสนใจพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้ กล่าวคือ เชื่อเรื่องจิตวิญญาณมาจนกระทั่งวิทยาศาสตร์รุ่งเรืองขึ้น คนในยุควิทยาศาสตร์จึงหันมาสนใจเรื่องการแสดงออกทางกาย เปลี่ยนทัศนะจิตวิทยามาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม

จอห์น วัตสัน (John B.Watson 1878-1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน สอนอยู่ที่หาวิทยาลัย John Hopkins ระหว่าง ค.ศ. 1908-1920 เป็นผู้อำนวยการห้องทดลองสัตว์ในมหาวิทยาลัยที่เขาสินอยู่ เขาเน้นหนักถึกการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ โดยศึกษาบนรากฐานที่ว่า สิ่งเร้าภายนอกเป็นสาเหตุของพฤติกรรม คือสิ่งเร้าภายนอกมาเร้า ร่างกายก็จะเกิดการตอบสนองทันที วัตสันให้แนวความคิดว่า การแสดงออกที่เรียกว่า “พฤติกรรม” (Behavior) เป็นการสะท้อนให้เห็นจิตของคนนั้น ฉะนั้นเมื่อต้องศึกษาเรื่องจิตก็ควรจะศึกษาเรื่องพฤติกรรม

จิตเป็นสิ่งไม่มีตัวตน มองไม่เห็น ถ้าต้องการจะทราบจิตใจของใครก็ต้องศึกษาจากพฤติกรรมของคนคนนั้น เพราะพฤติกรรมก็คือการแสดงออกของจิต ที่เราสามารถสังเกตหรือใช้เครื่องมือวัดได้ การศึกษาเช่นนี้ นับว่าเป็นแนวความคิดของการบุกเบิกให้จิตวิทยามีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเลิกวิธีศึกษาแบบนั่งคิดขีดเขียนอยู่กับโต๊ะ มาเป็นการศึกษาโดยมีการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออก แล้วนำข้อมูลนั้นๆ มาแปลความหมายอย่างมีระบบขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีบางคนยกย่องวัตสันว่า เป็น “บิดาแห่งจิตวิทยายุคใหม่” ที่แท้จริง และท่านผู้นี้เองได้ให้นิยามว่า “จิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรม” Psychology is a science behavior ที่นิยมใช้กันอยู่ในเวลานี้

ในปัจจุบันนี้ แทบทุกวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นครู แพทย์ นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักปกครอง นักการทหาร นักการเมือง นักกฎหมาย นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ ต่างก็เห็นความสำคัญของวิชาจิตวิทยา และนำไปปรับปรุงประยุกต์ให้เหมาะแก่อาชีพของตนซึ่งทำให้กลายเป็นจิตวิทยาประยุกต์แขนงต่างๆ มากมาย

สำหรับการศึกษาจิตวิทยาในประเทศไทยนั้นก็มีมานานแล้ว มีผู้สนใจศึกษาวิชานี้จากตางประเทศแล้วนำกลับมาเผยแพร่ เช่น พระยาเมธาธิบดี อาจารย์เกื้อม อิงควณิชย์ ม.ล. ตุ้ย ชุมสาย เป็นต้น โดยแต่งตำราจิตวิทยาเป็นภาษาไทย และสอนในสถานศึกษาต่างๆ รวมทั้งมีการตั้งสถาบันวิจัยทางจิตวิทยาด้วย ปัจจุบันมีการสอนวิชานี้ในสถาบันอุดมศึกษาถึงระดับปริญญาโทรและเอก

แนวคิดทางจิตวิทยา

วิชาจิตวิทยา ได้ขยายกว้างขวางออกไป ทำให้นักจิตวิทยาเกิดแนวคิดใหม่ๆ และได้มีการจัดกลุ่มแนวความคิดออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

1. กลุ่มโครงสร้างนิยม

วิลเฮมล์ แมกซ์ วุนต์ ใช้วิธีการศึกษาแบบตรวจสอบจิตตนเอง และการทดลองควบคู่กัน โดยพิจารณาความรู้สึกหรือความคิดของตนเอง เหตุที่ได้ชื่อว่ากลุ่มโครงสร้างของจิต ก็เพราะว่า นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาจิตสำนึกของตน และมีความเห็นว่า โครงสร้างของจินั้นประกอบด้วยจิตธาตุ คือการรู้สึกการสัมผัสและมโนธาตุ ซึงจะก่อให้เกิดความคิด อารมณ์ ความจำ การหาเหตุผลและอื่นๆ

2. กลุ่มหน้าที่ของจิต

ในระหว่างปี ค.ศ. 1900 (2443) นักจิตวิทยาชื่อ จอห์น ดิวอี้ (Joun Dewey) และวิลเลียม เจมส์ (William James) ชาวอเมริกัน มีความเห็นว่า “การศึกษาจิตวิทยานั้นควรที่จะศึกษาจิตสำนึกในลักษณะของการใช้ประโยชน์ นั่นคือ ศึกษาจิตใจในรูปของการกระทำกิจกรรมต่างๆที่จะปรับตัวให้เหมาสมกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มหน้าที่ของจิตเน้นในเรื่องพฤติกรรมและการปรับตัว”

3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม

จอห์น บี วัตสัน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ประกาศแนวความคิดของเขา ในปี ค.ศ. 1913 (2456) ในหนังสือจิตวิทยาในทรรศนะของนักพฤติกรรมนิยม (Psychology as the behaviorist view it) เขามีความเห็นว่า นักจิตวิทยาต้องสามารถเสนอข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการค้นคว้าทดลองให้ปรากฏแก่สายตาของผู้ที่สนใจ

4. กลุ่มจิตวิเคราะห์

ชิกมัน ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีความคิดหลักอยู่ว่า จิตมีลักษณะเป็นพลังงาน เรียกว่า พลังจิต มีหน้าที่ควบการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายทั้งหมด พลังจิตมี 3 ลักษณะ คือ จิตสำนึก จิตระหว่างรู้สำนึกกับไร้สำนึก และจิตไร้สำนึก

พลังจิตนั้น ฟรอยด์เชื่อว่ามีอยู่จำกัด “ทฤษฎีคงรูปของพลังงาน”มีเนื้อหาอยู่ว่าพลังจิตนั้นคงที่ไม่มีทางทำลายหรือสร้างขึ้นมาใหม่ มนุษย์เราพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวของเราขณะนี้ประกอบไปด้วยกรดำเนินงานของระบบโครงสร้างของจิต 3 ระบบ คือ Id Ego และ Superego

อิด(Id) เป็นความต้องการพื้นฐานของคนที่มีมาแต่กำเนิด เป็นไปโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ทั้งสัญชาตญาณแห่งการดำรงพันธุ์ เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ ความต้องการความรัก ความอบอุ่น ฯลฯ และสัญชาตญาณแห่งการทำลาย เช่น ความต้องการทำลายผู้อื่น ความต้องการทำลายตัวเอง ความต้องการตามสัญชาตญาณต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดขึ้นเพื่อที่จะสนองความพึงพอใจตามหลักแห่งความพอใจ และเมื่อมีความต้องการดังกล่าว มนุษย์ก็จะกระทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความต้องการเหล่านั้น

อีโก้(Ego) เป็นพลังที่ควบคุมความต้องการของ อิด (Id) ให้เป็นไปตามหลักความจริง สอดคล้องกับสังคมโดยทั่วไป อีโก้ (Ego) จะเป็นตัวกำหนดเป้าหมายของการตอบสนองของ อิด (Id) อีโก้ (Ego) มีลักษณะที่สอดคล้องกับสังคมโดยทั่ว ๆ ไป เช่น ความต้องการอาหาร (เป็นความต้องกาของ อิด) ก็จะไปง้อหรือขอ แต่ไม่ใช่ขโมยหรือปล้น

ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นพลังที่ถูกกำหนดโดยการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ ครูอาจารย์และศาสนา เกี่ยวกับความดี ความชั่ว คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งมักจะขัดกับหลักความเป็นจริง และขัดต่อความต้องการโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) จึงเป็นพลังที่คอยควบคุมให้ อีโก้ (Ego) กำหนดเป้าหมายและลักษณะของการตอบสนองให้เป็นไปตามวัฒนธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม ในเวลาเดียวกันก็จะควบคุม อิด (Id) ให้มีความต้องการในสิ่งที่ไม่ผิดหลักวัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมของังคมด้วย

ฟรอยด์ ชาวออสเตรียนตั้งจิตวิทยาสาขาวิเคราะห์ขึ้น เกี่ยวกับการวิเคราะห์และบำบัดความบกพร่องทางจิต ในปี ค.ศ. 1890 เขาเริ่มศึกษาถึงการทำงานของระบบประสาท สรุปว่าระบบประสาทมีอิทธิพลต่อการทำงานของจิตใจมาก เขาได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเรื่องจิตไร้สำนึก

การศึกษาจิตวิทยานั้น ควรที่จะศึกษาจิตสำนึกในลักษณะของการใช้ประโยชน์ นั้นคือศึกษาจิตใจในรูปของการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะปรับตัวให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้ที่จะช่ยให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มหน้าที่ของจิตเน้นในเรื่องพฤติกรรมและการปรับตัว

จอห์น บี วัตสัน (John B.Watson 1878-1958) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย John Hopkins ระหว่าง ค.ศ. 1908-1920 Watson เป็นผู้อำนวยการห้องทดลองสัตว์ในมหาวิทยาลัยที่เขาสอนอยู่ เขาเน้นหนักถึงการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เขาศึกษาพฤติกรรมของคนบนรากฐานที่ว่า สิ่งเร้าภายนอกเป็นสาเหตุของพฤติกรรม คือสิ่งเร้าภายนอกมาเร้าร่างกายก็จะเกิดการตอบสนองทันที Watson ให้แนวความคิดว่า การแสดงออกที่เรียกว่า “พฤติกรรม เป็นการสะท้อนให้เห็นจิตของบุคคลนั้น ฉะนั้นเมื่อต้องการศึกษาเรื่องจิต ก็ควรศึกษาเรื่องพฤติกรรม”

จิตเป็นสิ่งไม่มีตัวตน มองไม่เห็น ถ้าต้องการจะทราบจิตของใครก็ต้องศึกษาจากพฤติกรรมของคนคนนั้น เพราะพฤติกรรมก็คือการแสดงออกของจิต ซึ่งเราสามารถสังเกต หรือใช้เครื่องมือวัดได้ การศึกษาเช่นนี้นับว่าเป็นแนวความคิดของการบุกเบิกให้จิตวิทยามีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเลิกวิธีการศึกษาแบบนั่งคิดขีดเขียนอยู่กับโต๊ะ มาเป็นการศึกษาโดยมีการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกแล้วนำข้อมูลนั้น ๆ มาแปลความหมายอย่างมีระเบียบขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีบางท่านยกย่องว่า “บิดาแห่งจิตวิทยายุคใหม่” ที่แท้จริง และท่านผู้นี้เองได้ให้นิยามว่า (จิตวิทยา คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม) ซึ่งนิยมใช้กันอยู่เวลานี้

วิลเฮล์ม แมกซ์ วุนต์ นักจิตวิทยาและสรีรวิทยาชาวเยอรมันเป็นผู้ทำให้วิชาจิตวิทยาแยกจากปรัชญามาเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยเป็นผู้เริ่มตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1879 เป็นแห่งแรกของโลก ที่มหาวิทยาลัย Leipzig เมือง Leipzig ประเทศเยอรมัน ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึกและประสาทสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจักษุสัมผัส และทดลองเกี่ยวกับการใส่ใจ ความตั้งใจจิตสำนึก

อารมณ์ ความจำแบบ Associative Memory ความเร็วปฏิกิริยาตอบสนอง จินตนาการ การคิดหาเหตุผล การเข้าใจภาษา และคณิตศาสตร์ เขาได้สมญาว่า บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง ห้องทดลองของเขาทำให้จิตวิทยาเปลี่ยนแนวมาเป็นจิตวิทยาแห่งการทดลอง นับเป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการตามวิทยาศาสตร์ ผลงานของเขาสรุปได้ว่า กายกับจิตนั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จิตรับรู้ได้จากการรับสัมผัส ซึ่งเกิดจากกระบวนการของประสาทสัมผัส Wundt กล่าวว่า โครงสร้างของจิตประกอบไปด้วยการรับสัมผัสความรู้สึก ความคิดจินตนาการ แนวทัศนะโครงสร้างของจิต ส่วนใหญ่การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์จะใช้วิธีจิตพินิจภายใน และใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อการทดลองเกี่ยวกับสิ่งเร้าและการสัมผัส

การสร้างห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ของวุนต์ ทำให้นักจิตวิทยาคนสำคัญ ๆ เดินทางไปศึกษาและนำมาสร้างห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ขึ้นในที่ต่าง ๆ อีกมากมาย ความรู้ทาจิตวิทยาที่ได้มาด้วยวิธีการทดลองเช่นนี้ ทำให้จิตวิทยามีลักษณะของศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์จนได้ชื่อว่าจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์มาจนถึงปัจจุบันนี้

ขอบข่ายของจิตวิทยา

การศึกษาจิตวิทยาในปัจจุบัน ได้พัฒนาไปตามลำดับ เนื้อหาในจิตวิทยาอาจแบ่งเป็นแขนงต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ จิตวิทยากายวิภาค จิตวิทยาการทดลอง จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาบุคลิกภาพ จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาวิศวกรรม จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม จิตวิทยาสุขภาพ จิตวิทยาชุมชนจิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาเปรียบเทียบ เป็นต้น

ในที่นี้อาจจะอธิบายจิตวิทยาบางสาขาโดยสังเขป ดังนี้

1.จิตวิทยาทั่วไป เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ทั่ว ๆ ไป โดยศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทฤษฎี และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมออกมา รวมทั้งพัฒนาการของมนุษย์ที่ดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อีกด้วย

2.จิตวิทยาทดลอง เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการทดลองด้วยเครื่องมือต่าง ๆ โดยมุ่งที่เหตุและผล เช่น ทดลองเกี่ยวกับการเรียนรู้ การจำ การลืม การสร้างแรงจูงใจ เป็นต้น

3.จิตวิทยาสังคม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของสังคมหรือของกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมบทบาทผู้นำและผู้ตามการทำงานของกลุ่ม การติดต่อสังสรรค์ในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ศึกษาทัศนคติและการเปลี่ยนทัศนคติพร้อมทั้งวิธีการหาหลักเกณฑ์สำหรับการใช้ในการควบคุม และกำหนดพฤติกรรมเหล่านั้น เพื่อลดปัญหาการขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน

4.จิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งเข้าสู่วัยชราอาจจะศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละวัย เช่น วัยเด็ก วัยรุ่น เป็นต้น

5.จิตวิทยาการศึกษา เป็นจิตวิทยาสำหรับครูและนักศึกษาโดยเฉพาะ มีประโยชน์ต่อการศึกษามากที่สุด เนื้อหาวิชาเน้นเรื่องการเรียนการสอนเด็กการเรียนรู้ รวมทั้งวิธีวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน การปรับตัวของครู การเรียน การจูงใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลนักจิตวิทยาการศึกษาจะทำงานร่วมกับครูและผู้ปกครองนักเรียนในการหาสาเหตุของพฤติกรรมที่ผิดปกติในชั้นเรียนของนักเรียน คิดค้นแบบทดสอบความฉลาด ตลอดจนทำหน้าที่แนะแนวการศึกษา จิตวิทยาทางสรีรวิทยาด้วยการศึกษาระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หน้าที่ของอวัยวะที่มีความเกี่ยวพันกับพฤติกรรม และจิตใจของมนุษย์

6.จิตวิทยาคลินิก หรือ จิตวิทยาเพื่อการบำบัด เป็นการศึกษาต้นเหตุของความผิดปกติของพฤติกรรมมนุษย์ วิธีแก้ไขหรือบำบัดรักษาพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือการวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติทางด้านจิตใจอารมณ์

7.จิตวิทยาเปรียบเทียบ เป็นจิตวิทยาว่าด้วยเรื่องความเหมือนกันและความแตกต่างกันในเรื่องของพฤติกรรมของอินทรีย์ ทั้งหลายศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางพฤติกรรมของอินทรีย์ ซึ่งส่วนมากจะทำการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น หนู สุนัข ฯลฯ

8.จิตวิทยาภาษาศาสตร์ เป็นจิตวิทยาที่รวมวิธีการทาง จิตวิทยาเกี่ยวกับภาษาศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยศึกษาภาษาศาสตร์ในทางจิตวิทยา เช่น การออกเสียงสระ และพยัญชนะที่ถูกต้อง เป็นต้น

9.จิตวิทยาเชิงธุรกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับยุทธวิธีในการเข้าใจ คือ ความต้องการเกี่ยวกับการบริโภคสินค้าหรือบริการ และยังรวมทั้งการฝึกอบรมพนักงานให้ทำงานได้อ่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

10.จิตวิทยาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งจะทำให้รู้ถึงความคล้ายคลึงกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในเพศและวัยของคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเชิงธุรกิจ

ดังได้กล่าวแล้วว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ กัน วิชาจิตวิทยาเชิงธุรกิจก็เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เช่นกัน แต่เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ในสภาพของการทำงาน โดยมีจุดมุ่งหมายว่า ทำอย่างไรบุคคลจะทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากทีสุด ได้ผลผลิตมากที่สุด นั่นคือ การนำวิชาจิตวิทยามาใช้ในวงการธุรกิจนั่นเอง

ความเป็นมาของจิตวิทยาเชิงธุรกิจ

จิตวิทยาเชิงธุรกิจ เป็นวิชาที่กล่าวถึงหลักจิตวิทยาในสภาพการทำงน ในหน่วยงานธุรกิจได้เริ่มขึ้นหลังจากที่ได้มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงศตวรรษที่ 20 เนื่องจากมีผู้คิดค้นเครื่องจักรทุ่นแรงขึ้น กระบวนการผลิตได้เปลี่ยนแปลงระบบใหม่ ผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก ผู้คนที่อยู่เขตชานเมืองก็พากันหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเมืองอุตสาหกรรม เกิดปัญหาเกี่ยวกับคนขึ้น จึงได้มีนักวิชาการพยายามศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานของคน โดนนำเอาหลังจิตวิทยามาศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่ง W.D. Scott ได้เขียนไว้ในหนังสือ Influencing Men Business ว่า “ปัญหาธุรกิจที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ ปัญหาเรื่องบุคคลในวงการธุรกิจ กล่าวคือ ทำอย่างไรจะยั่วยุคนให้ทำงานให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายของธุรกิจได้” และในการกระตุ้นพนังงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะต้องศึกษาวิชาจิตวิทยาก่อน เพราะวิชาจิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ และจิตวิทยาเชิงธุรกิจนี้ก็ได้วิวัฒนาการมาจากจิตวิทยาอุสาหกรรม

1.การเริ่มต้นของจิตวิทยาอุสาหกรรม Hugo Munsterberg นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมสมัยแรกได้นำเอาจิตวิทยามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลทางอุตสาหกรรม ซึ่งได้เขียนไว้ในตำราชื่อ Psychology of Industrial Efficiency ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการคักเลือกบุคลากรเพื่อใช้ในการโฆษณาและ

การขาย การลดอุบัติเหตุและการแบ่งกระดับคนงาน ได้มีการนำเทคนิคของจิตวิทยา (Psychological Technique) มาใช้ในการสอบบุคลากรในกองทัพสหรัฐอเมริกา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนในอังกฤษก็ได้มีคณะการวิจัยความเหนื่อยล้าทางอุตสาหกรรม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการวิจัยสุขภาพทางอุตสาหกรรม) จัดตั้งขึ้น เพื่อศึกษาวิจัยปัญหาเกี่ยวกับความเมื่อยล้าของคน ชั่วโมงในการทำงานและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หน่วยวิจัยจิตวิทยาประยุกต์ของคณะกรรมการวิจัยทางการแพทย์อังกฤษ ก็ได้นำเอาหลังจิตวิทยามาใช้ในเรื่องการทำงานของบุคคล

ต่อมาอีกหลายปี ความสนใจทางจิตวิทยาที่นำมาประยุกต์กับปัญหาของคนในอุตสาหกรรมมีมากขึ้น จนกลายเป็นแขนงหนึ่งของจิตวิทยา และได้พัฒนาแพร่หลายไปทั้งยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา

2.การเปลี่ยนแปลงแนวคิดในจิตวิทยาอุตสาหกรรม แนวคิดในระยะแรกของจิตวิทยาอุตสาหกรรมที่เน้นถึงการคัดเลือกและบรรจุบุคคลยังคงใช้อยู่เรื่อยมา จนถึง ปี ค.ศ. 1940 จึงได้พัฒนาแนวคิดที่เน้นถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม กระบวนการนิเทศงาน ภาวการณ์เป็นผู้นำการติดต่อสื่อความเข้าใจ และความพอใจในงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเน้นเรื่องสัมพันธ์ภาพระหว่างมนุษย์ ในอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น และนำมาใช้ในการนิเทศและบริหารงานบุคคล ตลอดจนโปรแกรมพัฒนางานด้านการจัดการในวงการธุรกิจและ

อุตสาหกรรม ซึ่งเน้นลักษณะทางสังคมของการทำงาน แต่ในปัจจุบันได้ถือว่าเป็นจิตวิทยา องค์การที่มุ่งถึงการจูงใจคนในการทำงาน ความพอใจในงานและประสิทธิผลของงานมากขึ้น และได้ให้ความสนใจมากขึ้นในลักษณะของการจัดการงาน นโยบายและโครงสร้างการจัดรูปองค์งาน ระบบ การให้สิ่งตอบแทน เพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจคนงานและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดรูปองค์งานมากขึ้น

ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาแขนงความรู้ใหม่ในเรื่องปัจจัยมนุษย์ที่นำมาใช้ในวิศวกรรม ซึ่งวัตถุประสงค์ของสาขาวิชานี้ก็เพื่อสร้างเครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพให้เหมาะสมกับความสามารถและขีดจำกัดของมนุษย์ และทำให้ความรู้นี้เข้ามาเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา โดยนำเอาหลักจิตวิทยาเข้ามาในอุตสาหกรรม และก็ได้มีการเรียนจิตวิทยานี้ว่า จิตวิทยาวิศวกรรม

3.จิตวิทยาเชิงธุรกิจปัจจุบัน มีความพยายามของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม ในการที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสัมพันธภาพของตัวแปรที่เข้ามามีผลต่อพฤติกรรมการทำงานในลักษณะต่าง ๆ เป็นตันว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลลักษณะของการจัดรูปองค์การ สิ่งตอบแทนโครงสร้างของกลุ่ม การออกแบบเครื่องใช้สำนักงานและสภาพการทำงานต่าง ๆ ซึ่งนำมารวมกันเข้าแล้วมีผลต่อการปฏิบัติงาน และพฤติกรรมในการทำงานที่มีประสิทธิผล โดยได้วิเคราะห์ปัจจัยตัวแปรเหล่านั้น และได้วางมาตรการเกี่ยวกับคุณค่าของคนเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการปฏิบัติงานและพฤติกรรมในการทำงาน (ปรับปรุงจาก จิตวิทยาธุรกิจ, กรมอาชีวศึกษา, 2534)

ประโยชน์ของจิตวิทยาเชิงธุรกิจ

จากการที่ได้กล่าวมาแล้ว พอสรุปได้ว่า จิตวิทยาเชิงธุรกิจมีความสำคัญต่อการบริหารงานธุรกิจเป็นอย่างมา อาจจะมีหลักการเน้นจิตวิทยาอุตสาหกรรม ถ้าธุรกิจนั้นเป็นบริษัทผู้ผลิตอุตสาหกรรมอาจจะมีหลักการเน้นจิตวิทยาการขาย ถ้าธุรกิจนั้นกิจการธุรกิจการค้า หรือธุรกิจบริการ หรืออาจจะมีหลักการเน้นจิตวิทยาสังคม ถ้าธุรกิจนั้นมีงานติดต่อสื่อสารกับบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย จิตวิทยาอำนายประโยชน์ต่อการดำเนินงานหลาย ๆ ด้าน ดังต่อไปนี้

1.ด้านการบริหารงานบุคคล เพื่อช่วยในการคัดเลือกตัวบุคคลที่เหมาะสมกับงาน การฝึกอบรมคนงาน การให้แรงจูงใจสร้างขวัญและกำลังใจ การลดความเหนื่อยล้า และความเบื่อหน่ายในการทำงาน ฯลฯ

2.ด้านการจัดการ เพื่อช่วยในเรื่องการจัดรูปแบบการจัดรูปงาน การมอบหมายงาน การวางแผนและประเมินผลงานการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน การควบคุมและบริหารงานการสั่งงาน ฯลฯ

3.ด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อช่วยในเรื่องการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างพนักงาน ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ระหว่างหัวหน้างานกับเจ้าหน้าที่ ระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน ซึ่งนอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอันดีแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงานอีกด้วย

4.ด้านการตลาด เพื่อช่วยในเรื่องการศึกษาถึงพฤติกรรมผู้บริโภค การวิจัยตลาดและการวิจัยโฆษณา อันจะช่วยให้การขายเพิ่มพูนประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (กรมอาชีวศึกษา. 2527)

การประยุกต์จิตวิทยามาใช้ในงานธุรกิจ

จิตวิทยาเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ เพราะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ในวงการธุรกิจทั่วไปจะประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก แต่ละคนมีพฤติกรรมเฉพาะของตน การร่วมกันทำงานจึงมักจะก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้ง กระทบกระทั่งกันเป็นเหตุทำให้การทำงานติดขัดก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์อย่างถูกต้อง และการจัดการอย่างจริงจังจะทำให้ปัญหาดังกล่าวลดลง การทำงานจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น จิตวิทยามีส่วนในการช่วยแก้ปัญหาในการประกอบธุรกิจหลายประการ คือ

1.นักจิตวิทยามีวิธีในการคัดเลือกคนที่เหมาะสมเข้าทำงานตามความถนัดและสามารถ ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ธุรกิจ นอกจากนั้น คนที่ได้ทำงานที่ตนถนัดก็ย่อมพึงพอใจและพยายามทำงานให้ดีที่สุด

2.นักจิตวิทยาสามารถให้คำปรึกษาในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งบุคลากรให้เหมาะสมตามความสามารถได้

3.นักจิตวิทยาสามารถช่วยเหลือในการแก้ปัญหาสุขภาพจิต เพื่อลดความเครียดทางจิตลงได้

4.นักจิตวิทยาสามารถช่วยจัดโปรแกรมลดความเครียดของพนักงาน และป้องกันปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้

ในการทำธุรกิจการงานไม่ว่าจะเป็นด้านใด ๆ ถ้าใช้จิตวิทยาในการทำงานอย่างสร้างสรรค์สามารถใช้ความรู้จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น มีระบบการสื่อสารที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน ปัญหาในการทำงานก็จะลดลง

จิตวิทยาเป็นเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่ทำให้การทำงานในองค์กรมีสภาพที่ดีและประสิทธิภาพสูง

พฤติกรรมของมนุษย์

ความหมายของพฤติกรรม (Behavior)

พฤติกรรม คือ กิริยา อาการ บทบาท ลีลา ท่าที การประพฤติปฏิบัติ การกระทำที่แสดงออกให้

ปรากฏ สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่งใน 5 ทวาร คือ โสตสัมผัส จักษุสัมผัส

ชิวหาสัมผัส ฆานสัมผัส และทางผิวหนัง ฉะนั้นก็วัดได้ด้วยเครื่องมือ

อีกนัยหนึ่ง พฤติกรรม หมายถึง การกระทำต่างๆๆที่สิ่งมีชีวิตและบุคคลสามารถสั่งเกตได้จากการกระทำกิจกรรมเหล่านั้นซึ่งมีทั้งทางดีและทางไม่ดี เช่น การหัวเราะ การร้องไห้ เสียใจ การออกกำลังกาย ฯลฯ

สิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นผลมาจากกระบวนการทางจิตวิทยา ได้แก่ การจูงใจ การเรียนรู้ การจำ การลืม และความรู้สึกนึกคิด

อีกนัยหนึ่ง พฤติกรรม หมายถึง กระบวนการต่างๆของบุคคลที่ปฏิบัติต่อสภาพแวดล้อมของบุคคลเหล่านั้นออกมาในรูปของการกระทำหรือการแสดงออกของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ภายใต้กลไกของความรู้สึกนึกคิดของตนเอง

มนุษย์ทุกคนจะมีกระบวนการของพฤติกรรมที่เป็นเอกลลักษณ์เป็นของตนเอง ทุกคนจะมีความต้องการ และมีเหตุจูงใจเป็นของตนเองอยู่ตลอดเวลา และสามารถตัดสินใจที่จะกระทำการต่างๆด้วยความรู้สึกนึกคิดที่เป็นของตนเอง สิ่งที่ปรากฏออกมานั้นเป็นพฤติกรรมของมนุษย์

องค์ประกอบของพฤติกรรม

พฤติกรรม เป็นผลของการเลือกปฏิกิริยาที่เหมาะสมที่สุดมาต้องสนองสิ่งเร้าในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ในการสร้างบ้านใหม่ ย่อมต้องมีเป้าหมายว่าจะให้ได้บ้านที่มีรูปร่างลักษณะอย่างไรเจ้าของบ้านจะต้องเลือกการตอบสนองอยู่ตลอดเวลา เช่น แบบแปลน วัสดุก่อสร้าง นายช่างผู้มีฝีมือ เป็นต้น

ครอนแบช (L.J. Cronbach. 1963) กล่าวว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีองค์ประกอบ 7 ประการคือ

1. เป้าหมายหรือความมุ่งหมาย คือ วัตถุประสงค์ หรือความต้องการซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม เช่น ความต้องการมีหน้ามีตาในสังคม

2. ความพร้อมหมายถึง ระดับวุฒิภาวะและความสามารถที่จำเป็นในการทำกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการ

3. สถานการณ์ หมายถึง ลู่ทางหรือโอกาสให้เลือกทำกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการ

4. การแปลความหมาย เป็นการพิจารณาลู่ทาง หรือสถานการณ์เพื่อเลือกหาวิธีที่คิดว่าจะสนองความต้องการเป็นที่พอใจมากที่สุด

5. การตอบสนอง คือ การดำเนินทำกิจกรรมตามที่ตัดสินใจเลือกสรรแล้ว

6. ผลลัพธ์ที่ตามมา คือ ผลที่เกิดขึ้นการกระทำกิจกรรมนั้นซึ่งอาจได้ผลตรงข้ามที่คาดไว้ หรือตรงข้ามกับที่คาดหวังไว้ก็ได้

7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวังเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นไม่สามารถตอบสนองตามความต้องการ จึงต้องกลับไปแปลความหมายใหม่ เพื่อเลือกหาวิธีที่จะตอบสนองความต้องการได้ ถ้าเห็นว่าเป้าประสงค์นั้นมันเกินความสามารถ ก็ต้องยอมละเลิกความต้องการนั้นเสีย

พฤติกรรมจะสมบูรณ์และสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อผลที่ตามมาตรงกับความคาดหวัง หากไม่สมหวังคนเราก็จะมีปฏิกิริยาต่อไปอีก

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของพฤติกรรม

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของพฤติกรรม มี 2 ประการใหญ่ คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม

บทความของพลอากาศตรีทิพย์ นาถสุภา (กรมพันธุ์หรือการอบรม.2513) วิเคราะห์ไว้ว่า นายแพทย์ นักจิตวิทยา นักปกครอง หรือนักธุรกิจ ต่างก็สนใจว่า มนุษย์นี้จะดีหรือชั่วโง่หรือฉลาด สุจริตหรือทุจริต เกิดจากสิ่งแวดล้อม การอบรมหรือพันธุกรรมอย่างไรกันแน่ เพราะถ้าทราบมูลเหตุก็ย่อมสามารถทำนายและควบคุมแก้ไข (Prediction and Control) ได้สัมฤทธิ์ผลเปรียบเทียบดุลการรักษาโรค นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคย่อมสามารถค้นหาสมมุติฐานของโรคได้ถูกต้องการรักษานั้นจะหายดุจนิมิตได้ ส่วนหมอเถื่อนผู้มียาดีที่สุดแต่มีความรู้เลวที่สุด ย่อมหลงรักษาแต่อาการของโรคและทำให้คนไข้ตายมากที่สุด

เราต้องการมนุษย์ประเภทใดชนิดใดในโลกนี้ สมมุติว่า เราต้องการมนุษย์ที่มีพฤติกรรมดีมีมารยาท คุณธรรมสูง ซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม เมตตาปราณี มีกำลังกายเข้มแข็ง รื่นเริง เป็นพลเมืองดีไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีการวิวาทบาดหมาง ไม่มีการแสดงอำนาจอภิสิทธิ์ เราก็จะแสวงหาวิธีที่ดีที่สุดตามหลักของวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมแก้ไขปรับปรุง การอบรมหรือพันธุกรรมให้ดีขึ้น

จอห์น บี วัตสัน ผู้สร้างลัทธิจริตกิริยา แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก และจอน ฮอบกินส์ กล่าวว่า “ข้าพเจ้ายืนยันว่า การอบรม(Nurture) เป็นสิ่งสำคัญ สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อมนุษย์มากที่สุด ขอเด็กเล็กๆ อายุ 2-3 ขวบ มีสุขภาพดีสักหนึ่งโหล ข้าพเจ้าจะรับอบรมเขาตามที่ท่านประสงค์ ท่านชี้มาซิ จะให้คนไหนเป็นอะไรก็ได้ โดยไม่เฉพาะเจาะจง คนนี้ให้เป็นนายแพทย์ คนนั้นให้เป็นนักกฎหมาย คนโน้นให้เป็นอาจารย์ ที่เหลืออาจเป็นศิลปิน นักปกครอง และนักธุรกิจ หรือถ้าท่านต้องการจะให้อบรมเป็นนายโจรสักคนหนึ่ง เป็นอันธพาลสักสองคน และคนสุดท้ายให้เป็นยาจกวณิพก ข้าพเจ้าก็ยังรับจัดอบรมให้ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสติปัญญา เชาวน์ ความโน้มเอียง ความสามารถ อาชีพและเชื้อชาติของบิดา มารดา ตลอดจนบรรพบุรุษของเด็กเหล่านั้น”

นักวิทยาศาสตร์รัสเซียผู้เป็นประธานสภาวิทยาศาสตร์ ได้ประกาศแก่โลก ปฏิเสธพันธุกรรมโดยเด็ดขาด เป็นการปฏิวัติหลักสำคัญของชีววิทยาว่า กฎแห่งเมนเดล ไม่เป็นความจริงบรรดาท่านผู้นำแห่งรัสเซียส่วนมากมาจากบุตรหลานกรรมกรและชาวนา

การเชื่อว่าสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมมีผลติ่พฤติกรรมเป็นการดีจะได้ใช้วิธีการทะนุถนอม ก่อให้เกิดอุปนิสัย อันดีงาม เรียกกันว่า วิชา ยูเฮนนิค คือวิชาสร้างให้เป็นคนดี

ตรงข้ามกัน นักจิตวิทยาหลายท่านเทิดทูนพันธุกรรม ศาสตราจารย์ รูดอล์ฟ พินท์เนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ และคอลัมเบีย ผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาการศึกษาและการทดสอบเชาวน์ กล่าวไว้ เมื่อ ค.ศ. 1942 ว่า “อิทธิพลแห่งสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการอบรม ไม่ยิ่งใหญ่มากมายอะไรนักตามที่เคยเชื่อถือกันมา คุณสมบัติ อุปนิสัย เป็นต้นว่า เชาวน์ ย่อมเกิดขึ้นแต่ปฏิสนธิสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงแต่เครื่องอุปกรณ์ช่วยอำนวยโอกาสให้เกิดวิวัฒนาการเท่านั้น จะมีอำนาจอันใดมากเปลี่ยนแปลงเสริมสร้างให้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือเลวลงหาได้ไม่”

ความเห็นอันนี้เผอิญมาตรงกับสุภาษิตเราหลายบท เช่น “ลูกไม่หล่นไม่ไกลต้น” “ชาดไม่ดีทาสีไม่แรง” “ดูช้างให้ดูหาง” “เชื้อไม่ทิ้งแถว แนวไม่ทิ้งเหล่า” “จะดูวัวชั่วดีดูที่หาง จะดูนางดูแม่เหมือนและเห็น ถึงลูกยางห่างต้นหล่นกระเด็น ก็จะเป็นเช่นเหล่าตามเผ่าพันธุ์” เป็นต้น สุภาษิตฝรั่งเขาก็ว่า “พ่อลูกเขาก็เหมือนกันนั้นแหละ” แต่สุภาษิตเหล่านี้มิได้แยกการอบรมออกจากพันธุกรรมโดยเด็ดขาด เด็กย่อมเลียนแบบจากบิดามารดา ครูบาอาจารย์ เพื่อนฝูง และผู้ใกล้ชิด เด็กผู้หญิงเล็กๆ สามสี่ขวบเห็นคุณแม่ทาปากเขียนคิ้วด้วยเครื่องสำอางเสริมสวยวิทยาศาสตร์ หนูน้อยก็ใช้ไม่ก้านธูปแช่น้ำเอาสีแดงที่ละลายออกมาทาบ้าง

ความเห็นของนักจิตวิทยาและนายแพทย์ตามที่กล่าวมานี้ พอสรุปได้ ดังนี้

1. พันธุกรรมและการอบรมเป็นของคู่กัน ไม่มีอะไรสำคัญกว่ากัน เปรียบเหมือนรถยนต์กับน้ำมัน ถ้าขาดอะไรในสองอย่างหนึ่ง ท่านก็จะไปเที่ยวพัทยาไม่ได้

2. พันธุกรรม เปรียบเหมือนวัตถุดิบ การอบรมเปรียบเหมือนนายช่างฝีมือเอก ถ้าจะตัดเสื้อราตรีสักชุดหนึ่ง ท่านควรเลือกผ้าที่ดีที่สุด และตัดจากร้านที่มีชื่อเสียงที่สุด ก็จะได้ชุดราตรีที่สวยงามถูกใจ

3. พันธุกรรมดี สิ่งแวดล้อมดี การอบรมดี ไม่เป็นการประกันความสำเร็จของชีวิตครบ 100% หวังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยเรียกว่า “วาสนา” ฝรั่งเรียกว่า “โอกาส” และโอกาสที่ว่านี้ ไม่ใช่โชคลาง พรหมลิขิตแต่ประการได้ แต่โอกาสมักเกิดโดยบังเอิญ ถ้าท่านไม่รีบหยิบฉวยเสียทันทีให้บังเกิดแก่ตนเอง โอกาสก็จะผ่านไปอย่างน่าเสียดาย วาสนาก็ไม่อาจมีได้

4. สิ่งใดที่เป็นอากัปกิริยาภายนอก เช่น มารยาทในการสมาคม การเรียนเลขพออบรมสอนกันได้ สิ่งใดเกิดภายในอันมีสรีรศาสตร์เป็นรากฐาน เช่น อารมณ์ อัธยาศัย ความกล้าหาญ อบรมได้บ้างแต่ยาก หรืออาจอบรมไม่ได้

การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์

ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้น นักจิตวิทยาสังคม จะศึกษาพฤติกรรมของบุคคลแต่ละคน และพฤติกรรมโดยรวมที่แต่ละคนแสดงออก เป็นพฤติกรรมสังคม (กรมอาชีวศึกษา 2534)

พฤติกรรมส่วนบุคคล

บุคคลมีความเป็นเอกัคตา ซึ่งความเป็นเอกัคตานั้น ได้มาจากองค์ประกอบ 2 ประการใหญ่ๆ คือ

1. พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะ รูปร่าง หน้าตา สีผม ความสูง ความเตี้ย สติปัญญาจากพ่อแม่ ตลอดจนบรรพบุรุษไปถึงลูก

2. สิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้ (Environment and Learning) หมายถึง การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ การสอนของครูอาจารย์ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเองเช่น บุคคลหนึ่งอาจจะถูกสุนัขกัดเมื่อตอนเด็กๆ ยังฝังใจจำเรื่องสุนัขอย่างยิ่ง พอเห็นสุนัขอีกจะกลัวสุนัขมากสภาพสิ่งแวดล้อมของครอบครัว การอ่านหนังสือ เช่น หนังสือการ์ตูน หนังสือพิมพ์ การดูทีวี การเล่นกับเพื่อน เหล่านี้จะรวบรวมกลายเป็น “นิสัย” และ “การปรับตัว” ของแต่ละบุคคล

นอกจากนี้ นักจิตวิทยาบางกลุ่มยังได้อธิบายอีกว่า พฤติกรรมส่วนบุคคลนั้น เกิดมาจาก

1. เชาว์ปัญญา ความสามารถพิเศษ ความถนัด และความสนใจ บุคคลที่มีเชาว์ปัญญาดี ย่อมจะมีพฤติกรรมส่วนบุคคลแตกต่างจากบุคคลที่มีเชาว์ปัญญาต่ำ เชาว์ปัญญานั้นส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมและอีกส่วนหนึ่งมาจากการเรียนรู้ บุคคลที่มีเชาว์ปัญญาดีอาจจะชอบค้นคว้าหาความรู้ ชอบวิจัย ชอบอ่านหนังสือ มักจะมีอาชีพเป็นแพทย์ วิศวกร ทนายความ ครูและบุคคลที่มีเชาว์ปัญญาไม่ดี อาจจะชอบกิจกรมที่ใช้ร่างกาย ทำสวน ทำไร่ ชอบชกต่อย ก็ได้ ความสามารถพิเศษของบุคคลก็มีส่วนทำให้บุคคลมีพฤติกรรมต่างกัน เช่น บุคคลบางคนมีความสามารถทางวาดภาพ หรือการเป็นนักดนตรี ย่อมมีพฤติกรรมส่วนบุคคลแต่งต่างจากบุคคลที่มีความสามรถพิเศษทางการช่าง บุคคลที่มีความสามารถพิเศษทางด้านคิดคำนวณชอบวิชาเลขและเป็นพนักงานบัญชี ย่อมมีพฤติกรรมแตกต่างจากบุคคลที่ชอบพบปะกับผู้อื่น ชอบพูดชอบคุย ชอบแสดงความคิดเห็น และเลือกอาชีพเป็นพนักงานขาย

ความสนใจ ความสนใจทำให้บุคคลมีพฤติกรรมต่างกัน บุคคลที่สนใจการเมืองจะมีพฤติกรรมแตกต่างจากคนที่สนใจปลูกต้นไม้ บุคคลที่สนใจทางการเมือง อาจจะชอบอ่านหนังสือพิมพ์ ชอบร่วมกิจกรรมทางการเมือง อาจจะเดินขบวนประท้วงการทำงานของรัฐบาล บุคคลที่สนใจปลูกต้นไม้อาจจะชอบพรวนดิน ซื้อปุ๋ย ซื้อพันธุ์พืช ตัดแต่งใบไม้มากกว่าการเดินขบวนประท้วง

2. เพศและขนาดของร่างกาย เพศต่างกันทำให้พฤติกรรมต่างกัน เพศชายอาจจะมีกิริยาวาจาไม่เรียบร้อย พูดจาหยาบคายในขณะที่เพศหญิง กิริยาวาจาสุภาพ อ่อนโยน และนิ่มนวล ขนาดของร่างกาย อาจจะทำให้บุคคลมีพฤติกรรมต่างกัน บุคคลที่ร่างกายใหญ่โต อาจจะสนใจเป็นนักกล้าม นักมวย (เพศชาย) บุคคลที่มีร่างกายเล็ก อาจจะรู้สึกมีปมด้อย เช่น อาจจะสนใจสภาพร่างกาย รูปร่างหน้าตา ชอบแต่งตัวมากกว่าผู้มีหน้าตาไม่สวย

3. สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บุคคลที่มีฐานะเศรษฐกิจดี อาจจะมีพฤติกรรมแตกต่างจากบุคคลที่มีฐานะเศรษฐกิจไม่ดี สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมก็เช่นกัน บุคคลที่มาจากชุมชนแออัด อาจจะมีพฤติกรรมแตกต่างจากบุคคลที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี

4. วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และการใช้ภาษาของแต่ละท้องถิ่น สิ่งที่กล่าวถึงในข้อนี้มีอิทธิพลต่อแนวความคิด อุดมคติของแต่ละบุคคล เช่น ประเพณีประกอบพิธีมงคลของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งนิยมเล่นการพนัน เพราะเห็นว่าทำให้สนุกครึกครื้น บางแห่งไม่นิยมเล่น ศาสนาที่แตกต่างกันก็ทำให้คนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันด้วย เช่น คนที่นับถือศาสนาพุทธมีความเชื่อว่าคนตายแล้วจะต้องกลับมาเกิดอีก การเกิดใหม่ในชาติหน้าจะร่ำรวย มีความสุขหรือไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำของชาติปัจจุบัน ถ้าทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นก็จะเกิดใหม่พบความสุข ร่ำรวย ถ้าชาตินี้ทำไม่ดีไว้ โกง ขโมย ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น เกิดชาติใหม่จะยากจน ลำบาก คนที่เชื่อย่างนี้จะพยายามทำความดี เพราะหวังว่าชาติหน้าจะพบความสุข ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อก็จะทำตรงกันข้าม

5. สภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น มีอิทธิพลทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันเช่น สภาพภูมิศาสตร์ของภาคอีสานที่กันดารทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่เบื่อหน่าย เหนื่อยล้าต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างจากพฤติกรมของคนภาคกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในกรุงเทพมหานครจะมีพฤติกรรมที่กระฉับกระเฉง ต่อสู้กับสภาพทางเศรษฐกิจมีความคิดริเริ่ม มีสติปัญญา คิดทำสิ่งที่แปลกใหม่ ผลิตสินค้าต่างๆ ตามความต้องการของตลาด

6. อาชีพ คนที่อาชีพต่างกันย่อมมีพฤติกรรมต่างกัน คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมย่อมมีพฤติกรรมอย่างหนึ่ง ครูสอนหนังสือมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง นักธุรกิจมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งการแสดงพฤติกรรมนี้ต้องสอดคล้องกับฐานะ บทบาท สถานภาพ และกาลเทศะ

พฤติกรรมทางสังคม (Social Behavior)

เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมที่แสดงอาจจะต้องสอดคล้องกับสถานภาพ บทบาท และกาลเทศะ ทั้งนี้อาจจะเกี่ยวข้องระหว่างบุคคลต่อบุคคลหรือกลุ่มคนต่อกลุ่มคนที่มีต่อขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม สถาบัน วิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ย่อมมีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคลนั้นๆ นั่นคือ บุคคลจะทำอะไรตามใจชอบไม่ได้ต้องปรับปรุงบุคลิกภาพของตนให้คล้อยตามแนวทางที่สังคมยอมรับ

พฤติกรรมทางสังคมนี้อาจจะแยกย่อยออกไปได้หลายอย่าง เช่น

เกี่ยวกับการพูด เมื่อบุคคลพูดกับเพื่อน พูดกับพ่อแม่ พูดกับอาจารย์ สามีพูดกับภรรยา ผู้บังคับบัญชาพูดกับผู้ใต้บังคับบัญชา ย่อมใช้คำพูดไม่เหมือนกัน

เกี่ยวกับการวางตัว หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทาง การใช้สีหน้าแววตา เมื่อพูดกับเพื่อนย่อมแสดงกิริยาท่าทางแตกต่างจากที่พูดกับผู้บังคับบัญชา

อีกประการหนึ่ง สังคมย่อมมีพฤติกรรมโดยเฉพาะของแต่ละสังคม หมายความว่า ในหมู่คนพวกหนึ่งย่อมมีพฤติกรรมในส่วนรวมของหมู่คนหมู่นั้น เช่น ในหมู่ทหาร ตำรวจ หมู่พรสงฆ์ย่อมมีพฤติกรรมของกลุ่มโดยเฉพาะ ซึ่งผิดแผกแตกต่างกันกับหมู่อื่น ตัวอย่างเช่น การแสดงความเคารพ การพูด การทักทายกัน เป็นต้น

อนึ่ง ผู้นำของแต่ละกลุ่มก็มีบทบาทสำคัญในการให้พฤติกรรมของแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป เช่น ผู้นำทหารย่อมต้องการให้ทหารเข้มแข็ง อดทนกล้าหาญ พฤติกรรมสังคมของทหารก็จะเป็นอย่างนั้น ผู้นำวัยรุ่น ก็จะทำให้พฤติกรรมของวัยรุ่นแตกต่างจากพฤติกรรมของวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ผู้นำของพระภิกษุสงฆ์ก็ต้องการให้พระภิกษุสงฆ์สำรวม สันโดษ มีศีลบริสุทธิ์ เป็นตัวอย่างอันดีต่อฆราวาส พฤติกรรมทางสังคมของพระภิกษุสงฆ์ก็จะเป็นอย่างนั้น

ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในวิชาจิตวิทยาสังคม จะต้องพิจารณาถึงอิทธิพลของกลุ่มต่างๆ ที่มาหล่อหลอมทำให้เกิดพฤติกรรมทางสังคมด้วย



ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

การศึกษาเรื่องพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนั้น จะช่วยให้เราเข้าใจ ดังนี้

1. บุตรที่เกิดจากบิดามารดาพันธุ์ดี โดยเฉลี่ยแล้วย่อมจะดีกว่าบุตรที่เกิดจากบามารดาพันธุ์ไม่ดี

2. เชาว์ของเด็กที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกัน อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ผลการทดสอบบอกว่า แต่ละคนจะมีเชาว์ต่างกัน

3. พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ไม่อาจระบุแน่ชัดลงไปได้ว่าอะไรมีอิทธิพลมากกว่ากัน

พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของมนุษย์ และที่มีต่อสติปัญญา พบความสัมพันธ์ดังนี้

1. พวกที่มีสติปัญญาดี มีการศึกษาสูง ใช้เวลาในการศึกษายาวนาน

2. พวกที่มีสติปัญญาสูง มักเลือกอาชีพที่ต้องใช้หัวคิด

3.เด็กที่เติบโตในเมืองทำคะแนนได้ดีกว่าเด็กที่เติบโตในชนบท สภาพแวดล้อมในเมืองช่วยส่งเสริม

ความสามรถมากกว่าชนบท ถ้าเด็กเปลี่ยนสภาพแวดล้อมมาสู่สภาพที่ดีขึ้น คะแนนการทดสอบจะดีขึ้นด้วย



กระบวนการพฤติกรรมของมนุษย์

พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ กล่าวคือ มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมออกมาโดยไม่มีสาเหตุไม่ได้ ต้นเหตุของพฤติกรรมนั้น เรียกว่า “สิ่งเร้า” สิ่งเร้าบางอย่างเป็นเรื่องนอกกาย บางอย่างก็เป็นสิ่งเร้าในกาย ดังนั้น พฤติกรรมบางอย่างของคนจึงเป็นพฤติกรรมที่ค้นหาสาเหตุได้ยาก

พฤติกรรมซึ่งกระทำตอบสิ่งเร้า เรียกว่า “ปฏิกิริยาตอบสนอง” ที่บางอย่างก็กระทำตามสิ่งเร้าโดยตรง เช่น ร้องไห้เมื่อถูกด่า แต่บางที่ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าก็ไม่กระทำโดยตรง เช่น เมื่อหิวข้าวกลับแสดงความโมโหฉุนเฉียว เป็นต้น ดังนั้น เรื่องพฤติกรรมของมนุษย์จึงเป็นเรื่องเข้าใจยากพอดู

สิ่งเร้า (Stimulus) สิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์มีปฏิกิริยาตอบสนอง คือ สิ่งแวดล้อม นักจิตวิทยาจึงสนใจสิ่งแวดล้อมในฐานะที่มันทำหน้าที่เร้าให้มนุษย์กระทำพฤติกรรม สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยามี 2 ประเภท คือ

1. สิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น คน สัตว์ วัตถุสิ่งของ รวมถึงกิจกรรมที่เป็นนามธรรม เช่น หลักศีลธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม

2. สิ่งแวดล้อมภายใน ได้แก่ การกระทำของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย เช่น ความอยาก ความหิว กระหาย เป็นต้น

สิ่งเร้าเหล่านี้มีส่วนทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา ถ้ามนุษย์ไม่ถูกเร้าด้วยสิ่งแวดล้อมใด มักก็เป็นสิ่งแวดล้อมธรรมดา ไม่เป็นสิ่งเร้า

อวัยวะสัมผัสที่รับสิ่งสัมผัสภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวหนัง ปรากฏออกมาเป็นรูปแบบของการมองเห็น การได้ยิน การรู้รส และความรู้สึกร้อนหนาว เจ็บปวดหรือรู้สึกว่าถูกกดดัน เป็นต้น ส่วนอวัยวะสัมผัสภายใน เช่น ช่องในชั้นในของหู กล้ามเนื้อเอ็นทำให้เรารู้สึกทรงตัวอยู่ได้ในลักษณะใด การแกว่งแขน เราก็ทราบว่าแกว่งไปไกลแค่ไหนถึงแม้จะหลับตาเสียก็ทราบได้ เป็นต้น

ปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) เมื่อมนุษย์ถูกเร้า ย่อมแสดงปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจปรากฏชัดเจนหรือไม่ก็ได้ บางอย่างก็สังเกตปฏิกิริยาตอบสนองไม่ได้

การจูงใจให้เกิดพฤติกรรม การจูงใจ คือ การใช้ศิลปะทำให้บุคคลหรือกลุ่มชนเป้าหมายเปลี่ยนทัศนะคติและแนวทางปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่ผู้จูงใจต้องการด้วยความสมัครใจ

พฤติกรรมบางอย่างก็เกิดจากแรงจูงใจที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน แต่บางอย่างก็มีแรงจูงใจหลายอย่างรวมกัน หรือซับซ้อนมากจนบอกไม่ได้ เช่น การเสี่ยงชีวิตช่วยผู้ที่ตกอยู่ในสภาวะที่อันตรายร้ายแรง เป็นต้น

พลังเป็นปัจจัยในการจูงใจให้เกิดพฤติกรรม ได้แก่ ความต้องการและแรงขับ ความต้องการ คือ ความอยาก เมื่อเกิดคามต้องการขึ้นก็จะมีแรงขับให้อินทรีย์ทำกิจกรรมต่างๆ แรงขับหรือแรงจูงใจที่ทำให้คนเราแสดงพฤติกรรมต่างๆ นั้น อาจแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1. แรงจูงใจทางร่างกาย เป็นแรงจูงใจที่เนื่องมาจากความต้องการของร่างกาย เช่น ความหิว กระหาย การพักผ่อน การขับถ่าย ความต้องการทางเพศ พฤติกรรมของมนุษย์แรกเกิดเนื่องมาจากแรงจูงใจทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่

2. แรงจูงใจทางสังคม เป็นสิ่งที่เกิดภายหลัง คือ เกิดจากการเรียนรู้ เช่น เด็กร้องไห้ เพราะหิวหรือเกิดความต้องการ อันเป็นพฤติกรมที่เกิดจากแรงจูงใจทางร่างกาย เมื่อมารดาหรือพี่เลี้ยงจัดการให้ความต้องการได้รับการตอบสนอง ก็เกิดความพอใจ เมื่อเด็กได้เรียนรู้ว่าถ้าร้องไห้จะมีคนมาหา ดังนั้น การร้องไห้ครั้งหลังๆ อาจไม่เกิดจากแรงจูงใจทางร่างกายก็ได้ การร้องไห้ทำนองนี้เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการหรือแรงจูงใจทางสังคม



สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่มีปัญหา

นักจิตวิทยาวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมที่ปัญหามีสาเหตุมาจาก (รศ. ดร. กันยา สุวรรณแสง. 2540)

1. มีความขัดแย้งทางจิตใจ ลังเล ตัดสินใจไม่ได้ ทำให้เกิดความวิตกกังวล

2. ขาดทักษะ ประสบการณ์ ไม่มีความชำนาญในการกระทำ จึงเกิดความเคอะเขินผิดพลาด ล้มเหลว

3. มีเจตคติไม่ดี จิตใจไม่ยอมรับ จึงอยากจะแสดงออกตามความรู้สึกของตนเอง

4. เชาวน์ปัญญาไม่ดี คิดไม่ถึง ตัดสินใจผิดพลาด

5. ความจำไม่ดี ขี้ลืม ฉะนั้น จึงกระทำผิดๆ ถูกๆ

6. มีความวิตกกังวลต่อเหตูการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เกรงจะทำไม่สำเร็จ ตัดสินใจไม่ถูก กังวลต่อความผิดพลาด อัปยศ หมดหวัง

7. ความต้องการแข่งขัน เอาชนะ อยากเด่นดัง ทำให้เกิดความเครียด อิจฉาริษยา กังวล วุ่นวายใจ ไม่มีความสุข

8. ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ทำให้เงอะงะ งุ่มง่าม

9. มีความจริงใจมากเกินไปไม่รู้จักหยุดหย่อน แข็งกร้าว

10. ขาดข้อมูล ทำให้เกิดการคาดเดา

11. มีความคิดที่ไร้เหตุผล ก่อให้เกิดพฤติกรรมและการกระทำที่ไร้เหตุผล



กลวิธีสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนา

1. สร้างแบบอย่างพฤติกรรมที่ดีงาม ปรับปรุงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม

2. ให้การอบรมสั่งสอน เปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสียของพฤติกรรมที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา

3. ให้การเสริมแรง ให้รางวัล ชมเชย ให้สิ่งที่พอใจแก่ผู้ที่มีพฤติกรรมดี สนับสนุนส่งเสริมให้มีพฤติกรรมที่ดียิ่งๆขึ้น และ ติติง ว่ากล่าว ทักท้วง ลงโทษ ผู้มีพฤติกรรมไม่ดี ให้ลดลงเรื่อยๆ

สกินเนอร์ (Skinner) เชื่อว่า “การกระทำที่ดีได้รับการเสริมแรง ย่อมจะมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิด

การกระทำนั้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่ได้รับการเสริมแรง หรือถูกขัดขวาง ย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้ความถี่ของการกรทำที่ไม่พึงปรารถนาลดลงและหายไปในที่สุด ถ้าหมั่นเสริมแรงแก่ผู้มีพฤติกรรมดี พฤติกรรมที่พึงปรารถนาและเป็นที่ยมรับของสังคมก็จะมีเพิ่มมากขึ้นๆ จนติดเป็นนิสัย เช่น ความสุภาพ นอบน้อมถ่อมกาย ซื่อตรง ขยันหมั่นเพียร มีความเชื่อมั่นสูง”

แบนดูรา (Bandura) ก็กล่าวว่า วิธีการปรับพฤติกรรม คือ ให้การเสริมแรงแก่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา และไม่ให้การเสริมแรงหรือเอาใจใส่แก่พฤติกรรมที่ไม่ดี



พื้นฐานความต้องการของมนุษย์



ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท,ประสาน หอมพูล) ได้แก่

1. ความต้องการอาหาร ต้องเป็นอาหารดีๆ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งในขั้นพื้นฐานนั้นจะต้องการรับประทานให้ครบถ้วนตามหลักอาหาร 5 หมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เป็นต้น

2. เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งจะช่วยปกคลุมให้ร่างกายอบอุ่นช่วยเสริมสร้างให้มีบุคลิกภาพที่ดีแก่ผู้พบเห็นโดยจะต้องแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตนเอง

3. ที่อยู่อาศัย ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะมนุษย์จะต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและครอบครัว บ้านจะต้องสะอาด มีอากาศถ่ายเทดี

4. ยารักษาโรค มนุษย์ที่เกิดมาจะวนเวียนอยู่ในวัฎฎะจักรของชีวิต ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย การเจ็บป่วยถือเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบ ดังนั้นสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายพ้นจากการเจ็บป่วยได้ ก็ได้แก่ ยา โดยเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งทุกคนควรจะมีไว้ ถ้ามีอาการเจ็บป่วยมากจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ต่อไป

นอกจากปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวนี้ มนุษย์มนปัจจุบันยังมีความต้องการสิ่งอื่นอีกมาก จนกลายเป็นความ

ต้องการที่ไม่มีสิ้นสุด

เดวิด แมกซ์ ซิลแลนด์ (Davit C.Mc Cielland) ได้กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ดังนี้

1. ความมั่นคงในการทำงาน หมายถึง กิจการหรือหน่วยงานที่ตนทำนั้นจะมีความยั่งยืนไม่ล้มเลิกง่ายๆ และมีฐานะทางการเงินดีพอที่จะจ่ายเงินเดือนให้ได้ตลอดไปสามารถฝากอนาคตไว้ได้ แต่ถ้ากิจการหรือหน่วยงานไม่มั่นคง จิตใจของผู้ทำงานก็หวั่นไหวกลัวตกงาน อดอยาก จึงต้นดิ้นรนแสวงหากิจการหรือหน่วยงานที่มั่นคงกว่า และมีโอกาสลาออกเปลี่ยนงานค่อนข้างสูง

2. การยอมรับนับถือ คือ การที่ทุกคนต้องการเกียรติ การยอมรับนับถือในความรู้ ความสามารถ ไม่มีการแบ่งคุณวุฒิ แบ่งกลุ่ม หรือมีการดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามในความรู้ความสามารถ ความมั่งมีหรืออยากจน ตระกูลสูงหรือต่ำ

3. ต้องการความก้าวหน้า ต้องการมีโอกาสก้าวหน้าสูงขึ้น คนเราเมื่อทำงานแล้วก็อยากเห็นตนเองมีความก้าวหน้าทางการงาน ได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นได้ไปศึกษาต่อดูงานในต่างประเทศ รู้จักคนมากขึ้นได้ช่วยเหลือหน่วยงานเพิ่มขึ้น

4. ต้องการความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ การได้รับการฝึกอบรมศึกษา ดูงาน เปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งต่างๆ หรือเป็นกรรมการต่างๆ ย่อมทำให้คนเราไม่จำเจซ้ำซากที่ทำให้เบื่อหน่าย ทำให้คนเรากระฉับกระเฉง ซึงมนุษย์ถือว่าการได้ประสบการณ์เป็นเกียรติอย่างหนึ่ง

5. การมีเสรีภาพในการทำงาน การมีเสรีภาพทำให้ทำงานได้คล่องตัว ไม่อึดอัดกับระเบียบข้อบังคับ มีโอกาสแสดงคิดเห็นทางการพูด การเขียนบ้าง ไม่ถูกกดขี่ มีสิ่งอำนวยสะดวกตามสมควร

6. ได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งหรือการมีส่วนร่วมในงาน มนุษย์ต้องการให้กลุ่มยอมรับเป็นพวกเดียวกัน ไม่ต้องการรู้สึกว่าเป็นคนละพวกหรือเป็นแกะดำหลงฝูงหรือพลัดถิ่น ต้องการเข้าร่วมเป็นพวก

นอกจากนี้ นักจิตวิทยาชื่อ มาสโลว์ (A.H. Maslow) ยังได้กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ไว้อีกดังนี้

1. ความต้องการพื้นฐานของร่างกาย เช่น อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ถ้ายังไม่เพียงพอ มนุษย์ก็ต้องการสิ่งเหล่านี้มาใช้เพื่อทำให้ร่างกายมีความสุขความสบาย

2. เมื่อมนุษย์ได้สิ่งที่ต้องการพื้นฐานของชีวิตแล้ว และยังมีเหลือเก็บบ้างเล็กน้อยสำหรับใช้เมื่อขาดแคลนจะได้ไม่ลำบาก มนุษย์ก็เริ่มมีความต้องการในขั้นที่สูงขึ้นไป ก็คือ ความมั่นคงในชีวิต เช่น ต้องการความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความมั่นคงจากหน่วยงานอนาคตการทำงานไม่เสี่ยง

3. เมื่อมีความมั่นคงแล้วมนุษย์ต้องการความรักจากเพื่อนร่วมงาน คือ การยอมรับเข้าเป็นพวก ไม่ถูกกีดกัน ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ คุณวุฒิ สถานศึกษา

4. มนุษย์เราต้องการความก้าวหน้า โดยเฉพาะในหน้าที่การงาน เช่น จากร้อยตำรวจตรีก็อยากจะเป็นร้อยตำรวจโท และต้องการมีตำแหน่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนบางครั้งขึ้นไปถึงขั้นสูงสุดแล้วยังอยากจะให้พิจารณาตำแหน่งสูงขึ้นไปอีก เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องการความก้าวหน้าไม่มีที่สิ้นสุด

5. ความพึงพอใจที่จะทำอะไรเป็นพิเศษ ขั้นสุดท้ายที่เป็นความสูงสุดของชีวิต คือ ความพึงพอใจที่จะทำอะไรเป็นพิเศษในขั้นนี้ มนุษย์พร้อมแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ได้รับความสำเร็จ มีเงินทองพร้อมแล้ว อยากจะทำอะไรที่ทำให้ใหญ่โตและมีความสำคัญเป็นพิเศษ ต้องการให้คนทั่วไปแซ่ซ้องสรรเสริญตนเองให้มากๆ เช่น บริจาคเงิน สร้างอาคารให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาล สร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนหรือสถานที่สำคัญอื่นๆ และเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็จะได้รับจารึกชื่อไว้ที่อาคารหรือสถานที่เหล่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจูงใจให้มนุษย์มาร่วมมือกันช่วยพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ธรรมชาติของมนุษย์

มนุษย์มีนิสัยหรือพฤติกรรมที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจด้วยกันทุกคน บางคนก็แสดงให้เห็นเด่นชัด แต่บางคนก็เก็บกดไว้ภายใน ไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาให้คนอื่นเห็น ดังนั้น ธรรมชาติของมนุษย์โดยส่วนรวมที่น่าศึกษา พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. ชอบทำอะไรตามใจตนเอง รักความสะดวกความสบาย

2. มีนิสัยมักง่าย เกียจคร้าน ไม่ชอบระเบียบขอบังคับ ชอบทำตามใจตนเอง ชอบพูดมากกว่าทำ

3. ชอบซ้ำเติม โหดร้าย ทารุณผู้อื่น

4. สัญชาตญาณ มีความกลัวต่อความเจ็บป่วยต่างๆ ตลอดจนกลัวภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้น เช่น ภัยจาก

ธรรมชาติ อิทธิพล ความเจ็บปวด ความตาย ฯลฯ

5. มีความอิจฉาริษยาผู้ที่ดีกว่า เหนือกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนก้าวหน้าในด้านการงานมากกว่าก็นึกอิจฉา

6. มีความต้องการทางเพศ

7. ชอบความหายนะของผู้อื่น เช่น ชอบดูทะเลาะวิวาทกันทำร้ายกัน มีคนล้มตาย

8. อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย โมโหง่าย เปลี่ยนแปลงง่าย

ดังนั้น ศาสนาทุกศาสนาจึงมีคำสอนให้มนุษย์ละเว้นสิ่งที่ติดมาจนเป็นนิสัยสันดานของมนุษย์ เช่น มีศีลเป็นข้อห้ามว่า ห้ามฆ่าสัตว์และมีธรรมเป็นข้อปฏิบัติให้มีใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นต้น แม้กระนั้นเรายังพบสันดานดิบของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็นอยู่เสมอ เพราะบางคนก็ละเว้นได้บางคนก็ละเว้นไม่ได้ บางคนก็ละเว้นได้บ้างมากน้อยต่างกันไม่เท่ากัน เป็นต้น

ความแตกต่างของมนุษย์

มนุษย์มีธรรมชาติที่แตกต่างกัน จึงทำให้มนุษย์ปฏิบัติต่อบุคคลแตกต่างกันไปอารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของบุคคลที่สัมพันธ์กับความรู้สึก และจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับการสร้างมนุษย์สัมพันธ์จึงต้องจัดสรรให้เหมาะสมกับโอกาส จังหวะ ให้เข้ากับแต่บุคคล ลักษณะความแตกต่างของบุคคล มีดังนี้

1. ลักษณะรูปร่างหน้าตา เพศ เกิดจากพันธุกรรม เชื้อชาติ การอบรมเลี้ยงดู เช่น คนไทยภาคเหนือมีลักษณะเป็นคนผิวขาว ส่วนภาคใต้จะมีลักษณะผิวคล้ำ คนอเมริกันจะสูงใหญ่ ผมสีทอง นัยน์ตาสีฟ้า คนจีนแถบเอเชียตัวเล็ก เตี้ย ผมสีดำ นัยน์ตาสีดำ

2. ลักษณะอารมณ์ความรู้สึก/นิสัย อารมณ์เกิดจากสิ่งที่ถูกปรุงแต่งทำให้เกิดความนึกคิดแล้วแสดงออกมาตามภาวะแห่งความกดดันและการควบคุม การอบรมเลี่ยงดูที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็กจะช่วยสลายอารมณ์ที่ถูกรวมตัวกันเข้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการผ่อนลายด้วยตัวควบคุมอย่างอัตโนมัติเหมือนสวิตช์เปิดปิดไฟ

3. ลักษณะทางฐานะเศรษฐกิจและสังคม ความแตกต่างของมนุษย์เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ขัดแย้งกัน ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ก็ได้ ไม่สามารถเข้ากันได้ ไม่ยอมรับนับถือ เช่น ความยากจน ความร่ำรวย การศึกษา สถานภาพทางสังคม ตำแหน่งหน้าที่ ตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา

4. ลักษณะของสติปัญญาและความรู้ความสามารถ ความแตกต่างกันระดับสติปัญญาของมนุษย์ พระพุทธองค์ทรงเปรียบเสมือนกับดอกบัว 4 เหล่า คือ

fดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำ พร้อมที่จะบานเมื่อได้รับแสงอาทิตย์ เปรียบเสมือนกับบุคคลที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถเข้าใจคำสั่งสอนและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

ดอกบัวที่กำลังจะโผล่พ้นน้ำ หรือที่จะบานในวันรุ่งขึ้น เปรียบเสมือนกับบุคคลที่มีวิติปัญญาปานกลาง สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆได้ แต่ต้องอาศัยระยะเวลาการเรียนรู้มากกว่าคนประเภทแรก

ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำพร้อมที่จะบานในวัยต่อมา เปรียบเสมือนบุคคลที่มีปัญญาฉลาดน้อย ต้องใช้ระยะเวลาเรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นเวลานานๆ

ดอกบัวที่ติดอยู่ในโคลนตมใต้น้ำ รังแต่จะเป็นภักษาหารของเต้าปลาและสัตว์น้ำประเภทต่างๆ เปรียบเสมือนบุคคลที่มีปัญญาที่ยากต่อการสั่งสอน

5. ลักษณะความต้องการที่แตกต่างกัน ความต้องการที่แตกต่างกันของมนุษย์เกิดจากสิ่งต่อไปนี้

วัฒนธรรมระเบียบประเพณี เช่น วัฒนธรรมประเพณีของคนจีนจะมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมประเพณีของชาวยุโรป

ระดับการศึกษา การเรียนรู้ และการรับรู้ เช่น บุคคลที่มีความรู้จบประถมศึกษาปีที่ 6 จะมีความแตกต่างจากบุคคลที่จบ ปวช.

ภูมิหลัง เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูจากสถาบันครอบครัว เช่น ในครอบครัวชาวจีนจะรับประทานอาหารรสจืด ครอบครัวชาวไทยภาคอีสานจะชอบรับประทานสรจัด

สภาพเศรษฐกิจและสังคม ฐานะความเป็นอยู่ของบุคคล ครอบครัว ประเทศชาติมีสภาพคล่องที่แตกต่างกัน

สภาพทางการเมืองการปกครองของประเทศ จะเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของความต้องการ เช่นประเทศที่ใช้ระบบการเมืองแบบสังคมนิยมกับประเทศที่ใช้ระบบการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยหรือระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ย่อมทำให้ความต้องการของประชาชนในแต่ละประเทศต่างกัน









มนุษยสัมพันธ์ในองค์กรธุรกิจ

มนุษย์เราเกิดมาโดยสัญชาตญาณแล้วย่อมต้องการเข้าสังคม ต้องการคบหาสมาคมกับบุคลทั่วไป เป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม ต้องการเพื่อนที่คอยช่วยเหลือเกื้อหนุน คอยให้คำปรึกษาหรือปรับทุกข์ ปลูกมิตร ต้องการเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่สังคมยอมรับนับถือ น่ารัก น่าคบ น่าติดต่อคบหาสมาคมกับใครแล้วเกิดมิตรภาพที่ดีความรู้สึกสดชื่นอิ่มเอิบ

การคบหาสมาคมที่สัมพันธภาพราบรื่นแจ่มใส ย่อมเปรียบประดุจธารน้ำอมฤตอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะไล้มาชโลมร่างกายและจิตใจของมนุษย์ให้ชุ่มชื่น ชื่นฉ่ำ มีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างสันติ อันจะยังผลไปถึงความร่วมมือสนับสนุน ความเจริญหนาที่การงานในสังคมให้ราบรื่นยิ่งขึ้นอีกด้วย

เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าสังคมสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นนี้ ก็ควรที่จะปรับปรุงตนเองให้สามารถสัมพันธ์กับผู้อื่นให้เป็นไปอย่างราบรื่น บังเกิดผลดี มิใช่ความสัมพันธ์ที่มีลักษณะขัดแย้งหรือเป็นไปในทางลบ

โดยธรรมชาติแล้ว ความขัดแย้ง ระแวงสงสัย โกรธเกลียด เจ็บแค้น เข้าใจผิดกันจะเกิดขึ้นได้ง่าย หรือเกิดได้เองเสมอๆ แต่ความสัมพันธ์อันดีนั้นมักจะไม่เกิด และไม่ค่อยเกิดขึ้นเอง จะเกิดขึ้นได้ต้องศึกษาปรับปรุงแก้ไขวิธีการติดต่อสัมพันธ์ให้ถูกหลักและวิธีการ มีการสร้างและปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจังด้วย

การติดต่อสัมพันธ์ หรือการคบหาของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันที่อาศัยความเคยชินหรือการติดต่อกันตามธรรมชาติโดยปกตินั้น ไม่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้บังเกิดผลความสัมพันธ์ถึงระดับสูงได้จำเป็นต้องศึกษาหลักการ และใช้เทคนิคของวิชามนุษย์สัมพันธ์เข้าช่วยด้วยจึงจะได้ผล ผู้ที่ศึกษาหลักการไปปรับปรุงแก้ไข และฝึกปฏิบัติ ผู้นั้นย่อมจะได้เป็นผู้ได้เปรียบเสมอ ในชีวิตการทำงานทุกท่านคงเคยได้พบหัวหน้า ผู้บังคับบัญชา ผู้ใหญ่หลายท่านที่ได้ใช้มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงานของท่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเขียน การกระทำ และไม่เคยมีผู้บังคับบัญชาที่ปราศจากมนุษย์สัมพันธ์คนใดจะได้ขึ้นไปดำรงตำแหน่งสูงขึ้นอย่างราบรื่นมั่นคง และยั่งยืนเลย

สังคมยิ่งมีความเจริญก้าวหน้า มีความกว้างขวางลึกล้ำสลับซับซ้อนมากเพียงใด ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจ และมีความสำคัญแก่ความสัมพันธ์ของมนุษย์มากยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาการ และเทคโนโลยีสมัยต่างๆ ที่เจริญก้าวหน้า ภาวะสังคม การบริหารงานที่มีขั้นตอนสลับซับซ้อนมากมาย กับความรู้ความสามารถ ความข้าวของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดและเป็นไปอย่างกลุ่มๆตอนๆ ตามสภาพของสังคมที่แตกต่างกัน ทำให้ปัญหาในการบริหารและความเป็นไปในสังคมทุกแห่ง

ความสัมพันธ์ของมนุษย์ และภาวะสังคมติดๆ ขัดๆ มีความสำคัญต่อนักบริหารในอันที่จะใช้มนุษย์สัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจอันดี ที่จะทำให้บังเกิดความร่วมมือร่วมใจ เป็นการขจัดความขัดแย้งในความคิดของมนุษย์ ทำให้วามคิดเป็นไปในแนวเดียวกันเพื่อทำให้ปัญหาน้อยลง บังเกิดความราบรื่น ความร่วมมือ และความเจริญก้าวหน้าในกิจการงาน นั่นคือ ความจำเป็นที่จะต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์มากขึ้น ใช้อย่างมีความชำนิชำนาญ และมีทักษะ (รศ. วิจิตร อาวะกุล: เทคนิคมนุษยสัมพันธ์: คำนำ)

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) คือ ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในลักษณะของการแสดงออกทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือระหว่างบุคคลต่อกลุ่มในรูปแบบของการทำงานร่วมมือกันหรือความสัมพันธ์ส่วนตัว เป็นการผูกพันกันทางจิตใจ มีความเห็นใจกัน เป็นห่วงใยกันและกัน ทำให้เกิดความรักใคร่ร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน

ปัจจุบัน ผู้บริหารใช้มนุษย์เป็นเครื่องมือในการสร้างความศรัทธา ความเชื่อถือ และโน้มน้าวจิตใจร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้ประพฤติภารกิจไปในแนวทางที่ตนต้องการ โดยใช้บุคลิกภาพ จิตภาพ ทักษะ ในการแสดงออกทางภาษา และลักษณะท่าทางโดยการใช้เหตุผลต้องการ ซึ้งต่างกับสมัยก่อนที่มักจอ้างอำนาจของตนหรืออ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ มาเป็นแนวทางให้คนเชื่อฟังตน



ผลการกระทบของมนุษย์สัมพันธ์ต่อการทำงาน

โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะการทำงานขององค์กรจะประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่ายด้วยกัน ได้แก่

ฝ่ายจัดการฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายบริหารการงาน ทำหน้าที่กำหนดเป้าหมาย วางแผนในการดำเนินงานและตัดสินใจโดนนโยบาย และทิศทางที่คาดหวังในเรื่องต่างๆ อีกผ่านหนึ่งได้แก่ ฝ่านพนักงานซึ้งเป็นฝ่ายที่จะต้องดำเนินงานโดยตรง เป็นฝ่ายที่ต้องทำให้แผนงานต่างๆ ได้บรรลุเป้าหมายตามที่ฝ่ายจัดการกำหนดและที่ดีที่สุด หากทั่งสองฝ่ายมีการขัดแย้งกันแล้ว ก็เป็นการยากที่จะทำให้งานขององค์กรเกิดความสัมฤทธิ์ผล

จากการศึกษาของนักจิตวิทยาชื่อ Douglas Mc.Gregor พบว่า ในกรควบคุมและสั่งการนั้นไม่มีอำนาจภายนอกใดที่จะบังคับให้บุคคลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั้นหมายความว่า การใช่อำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งหรือตามระเบียบแบบแผนมาใช่บังคับคนให้ทำงานนั้น ไม่อาจทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้การสร้างความสัมพันธ์อันดีและเข้าใจกันจะเป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์ได้มากกว่า ทั้งนี้ ก็เพราะความเข้าใจกันนั้น จะเป็นเครื่องบังคับให้ฝ่ายปฏิบัติไม่กล้าที่จะทำให้ฝ่ายจัดการผิดหวังหรือตำหนิติเตียนในด้านความรู้สึกที่มีความเกรงใจ

การเกิดความขัดแย้ง นัดหยุดงาน หรือประทวงในเรื่องต่างๆ ในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆนั้น ก็เนื่องจากข้อบกพร่องในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ทั้งสิ้น ฝ่ายจัดการไม่เข้าใจถึงปัญหาหรือความต้องการของฝ่ายพนักงานดีพอ เช่น คิดว่าฝ่ายพนักงานไม่ตั้งใจทำงาน หวังแต่ค่าตอบแทนเท่านั้น และในทำนองเดียวกัน ฝ่ายพนักก็ขาดความเข้าใจฝ่ายจัดการ ไม่เห็นหรือเข้าใจปัญหาของฝ่ายจัดการความยุ่งยากขัดแย้งจึงเกิดขึ้น ความเสียหายก็ตามมาเกิดแก่องค์กร แลเป็นผลเสียหายต่อพนักงานทุกฝ่ายทุกระดับด้วย (กรมอาชีวศึกษา: 2534) หลักการสร้างมนุษย์สัมพันธ์

ในการบริหารงานมีปัจจัยสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ เทคนิค และคน ในทางวิชาการยอมรับกันว่า ปัจจัยทั้งสองประการเปรียบเสมือนหัวใจของการบริหาร เมื่อเราพิจารณาถึงสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ที่ออกคำสั่งกับผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว จะเห็นว่าอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานนั้นมีลักษณะเป็นสิทธิ โดยชอบที่จะสั่งการใดๆได้ตามตำแหน่งหน้าที่ แต่ส่วนใหญ่ของความสำเร็จที่เกิดจากการใช้อำนาจนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้สิทธินั้นให้มนุษย์อื่นเชื่อฟัง และปฏิบัติการได้เพียงใด ทั้งนี้ ย่อมเกี่ยวข้องอยู่กับท่าทีและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และการใช้ภาวะผู้นำ ตลอดจนการใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์เพราะสิ่งเหล่านี้ จะเสริมสร้างให้มีความเคารพ เชื่อฟัง การร่วมมือร่วมใจ ซึ่งจะทำให้การบริหารงานได้ทั้งผลงาน และน้ำใจคน

มนุษย์สัมพันธ์ เป็นการศึกษาทั้งในทางธรณี และทางปฏิบัติที่มุ่งเน้นในเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวกับธรรมชาติ และพฤติกรรมของคน ผู้ซึ่งมีความรู้สึกในด้านจิตใจและความต้องการอยู่นาๆประการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการถ้อยที่ถ้อยปฏิบัติต่อกันได้ถูกต้องในลักษณะที่เป็นการร่วมแรงร่วมใจเพื่อก่อให้เกิดสามัคคีธรรม

ในการทำงาน และการอยู่ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักมนุษยสัมพันธ์ หมายถึง หลักการที่กล่าวถึงวิธีการที่มนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่ร่วม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั้นเอง

การใช้จิตวิทยาสร้างเสริมสัมพันธภาพ

เป็นธรรมดาที่มนุษย์ต้องการให้ผู้อื่นนิยมชมชอบ ต้องการให้ทุกคนที่พบปะติดต่อด้วย ยอมรับและสนใจในตัวเขา การปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่นหรือหมู่คณะจึงเป็นเรื่องที่ควรสนใจศึกษา

องค์ประกอบที่สร้างความพึงพอใจระหว่างบุคคล

ศจ.นายแพทย์ มาร์ติน (2526) กล่าวถึงองค์ประกอบการสร้างความพอใจระหว่างบุคคลไว้ดังนี้

ทั้งเราและเขาจะสนิทสนมชอบพอกันหรือไม่ และมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆที่จะสร้างความพอใจทั้งเราและเขา องค์ประกอบดังกล่าวนี้ ได้แก่

1. บุคลิกภาพทางกาย จากการศึกษาของนักจิตวิทยาสังคม พบว่า ผู้ที่มีรูปร่างลักษณะภายนอกตลอดจนกิริยาท่าทางดีนั้น มีอิทธิพลในการสร้างความพึงพอใจต่อผู้พบเห็น เช่น หญิงชายที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม คนที่แต่งกายเรียบร้อยสะอาดสะอ้าน เป็นต้น คนเช่นนี้ มักจะเป็นที่นิยมชมชอบต่อผู้พบเห็น

2. ความสามารถส่วนบุคคล ความสามารถส่วนบุคคลก็สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับบุคคลอื่นได้ เช่น คนที่มีชื่อเสียงจากการเรียนเก่ง เล่นกีฬาเก่ง แสดงละครเก่ง ทำงานเก่ง ฯลฯ ส่วยใหญ่จะมีผู้คนชื่นชมอยากคบหาสมาคมด้วย

3. ความคล้ายคลึงกัน คนที่มีความคล้ายคลึงกัน คนที่มีความคลึงกันในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสนใจ ความเชื่อ เจตคติ ค่านิยมฯลฯ มักจะมีความพึงพอใจซึ่งกันและกัน

4. การตอบสนอง ผู้ที่ต่างฝ่ายต่างกระทำการตอบสนองความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่งได้มักจะมีความสนิทสนมชอบพอกัน เช่น คนที่ไม่ขัดเราเวลาเราพูด และคนที่ไม่ขัดเขาเวลาเขาพูด

5. ความใกล้ชิดและความคุ้นเคยกัน เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่บุคคลทั้งสองฝ่าย เพราะทั้งสองฝ่ายมีโอกาสที่จะปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน พบปะสนทนากัน ลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและศึกษาลักษณะและอุปนิสัยใจคอที่แท้จริงซึ่งกันและกัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน

หลักการสร้างสัมพันธ์ภาพกับผู้อื่น

มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. ปรับปรุงลักษณะทางกายให้มีคุณลักษณะที่ดี ปรับปรุงรูปร่างหนาตา ท่าทาง การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดหมดจด เหมาะสมกับกาลเทศะ

2. ปรับปรุงความสมบูรณ์ทางสติปัญญา วิธีการปรับปรุงทำได้โดยการพยายามศึกษาหาความรู้ อ่านหนังสือที่มีประโยชน์ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และงานอดิเรกที่มีประโยชน์ เช่น การกีฬา ดนตรี ศิลปะ การร่วมอภิปราย ฟังปาฐกถา เข้าชุมนุม ชมรม เป็นต้น

3. ปรับปรุงด้วยอารมณ์ รู้จักควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเอง ไม่แสดงพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่ไม่เหมาะสมออกไป พยายามทำให้มีความรู้สึกรักผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว อดกลั้น เมตตากรุณา ซื่อสัตย์ จริงใจ และหวังดีต่อผู้อื่น

4. ปรับปรุงคุณสมบัติด้านสังคม พยายามปรับปรุงความประพฤติในการแสดง กิริยามารยาท การพูด การแสดง ให้สลอดคล้องกับความนิยมในสังคมนั้น จะเป็นการสร้างความประทบใจ แก่คนในสังคมที่พบปะติดต่อด้วย

ยอร์ช วอชิงตัน ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ได้แสดงทัศนะในการปรับปรุงตัวเอง ไว้ดังนี้

1. การกระทำทุกอย่างในหมู่คณะ ควรที่ทำโดยแสดงให้เห็นว่าเคารพผู่ร่วมอยู่ในหมู่คณะนั้น

2. ย่าหลับ ในเมื่อคนอื่นๆกำลังพูดอยู่ อย่านั่งเมื่อคนอื่นยืน อย่าพูดในเรื่องที่ควรจะนิ่งสงบใจหรือไม่มีอารมณ์ อย่าเดินในเมื่อคนอื่นหยุดเดิน

3. ทำสีหน้าให้ชื่นบาน แต่ในกรณีที่มีเรืองร้ายแรง พึ่งทำหน้าให้เคร่งขรึมบ้าง

4. อย่าโต้เถียงกับผู้อื่นที่อยู่เหนือกว่า แต่พึงเสนอข้อคิดวินิจฉัยของตนเองแก่ผู้อื่นอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน

5. เมื่อใดที่พยามทำงานจนสุดความสามารถแล้ว แม้จะไม่ได้รับสำเร็จอย่างดีก็ไม่ควรตำหนิติเตียนเขา

6. อย่าใช้ถ้อยคำตำนิติเตียนหรือดุด่าผู้หนึ่งผู้ใด

7. อย่าผลีผลามเชื่อข่าวลือที่ก่อความกระทบกระเทือนให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด

8. อย่ารับทำในสิ่งที่ตนไม่สามารถทำได้แต่เมื่อสัญญาใดแล้วก็ต้องทำตามสัญญานั้นให้ได้
(โปรดติดตาม ตอนต่อไปครับ..ขอเวลาสักครู่)